จักรๆ วงศ์ๆ
ปลาบู่ทอง (2537/1994) ข้อความบนใบปิด กรุ๊ฟโฟร์โปรดัคชั่น ปลาบู่ทอง สรพงศ์ ชาตรี ขวัญภิรมย์ หลิน เกรียง ไกรมาก, นวพร อินทรวิมล, ปาลีรัฐ ศศิธร, ทักษิณา สิงหวิบูลย์, สุชาดา อีแอม, สงัด เหงือกงาม, อ๋อง ดับเบิ้ลบ๊องส์, ด.ญ.พรนภา ทรงนิคร, ด.ญ.เกศสุดา หลวงศรีราช, ด.ช.ประชา หนูสุข อาทิตย์ บทภาพยนตร์ จ้อย อัศวิน ผู้ช่วยถ่ายภาพ อดิเทพ ตัดต่อ-ลำดับภาพ ษ อินทรา ถ่ายภาพ สมยศ พุ่มสุวรรณ-ตามใจ ผู้ช่วยกำกับ อรรถสิทธิ์ เพลงประกอบภาพยนตร์ เอก ติกฤษณเลิศ ผู้จัดการกองถ่าย สิทธิชัย พัฒนดำเกิง กำกับการแสดง
พระรถ เมรี นางสิบสอง (2524/1981) ข้อความบนใบปิด เอเพ็กซ์ภาพยนตร์ เสนอ โรงถ่ายไชโย รังสิต สร้าง สมโพธิ แสงเดือนฉาย กำกับเทคนิค เนรมิต กำกับการแสดง พระรถ เมรี นางสิบสอง ทูน หิรัญทรัพย์ สุพรรษา เนื่องภิรมย์ อำภา ภูษิต, ดามพ์ ดัสกร, รณ ฤทธิชัย, ดวงชีวัน โกมลเสน, เมตตา รุ่งรัตน์,จันทนา ศิริผล, สีเทา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร,สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ชมเทคนิคมหัศจรรย์ระดับโลก! ยักษ์ตัวใหญ่เท่าภูเขากินคนทั้งเมือง! ถิ่นมะงั่วหาว มะนาวโห่!
บัวแก้วบัวทอง (2523/1980) ข้อความบนใบปิด เวชยันต์ภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์แสนสนุก อภินิหาร โชว์เทคนิคเต็มจอจากญี่ปุ่น บัวแก้วบัวทอง 24 ซีเนมาสโคป จตุพล ภูอภิรมย์ รัชนู บุญชูดวง เยาวเรศ นิสากร, ศิรดา ศิริวัมน์, จิตรกร สนธยา, ชลูด แฉล้มกุล สมาน คัมภีร์ กำกับการแสดง อดิศักดิ์ รัตนศักดิ์วิบูลย์ อำนวยการสร้าง
เจ้าหญิงแตงอ่อน (2523/1980) ข้อความบนใบปิด ทรงกิจฟิล์ม โดย ทรงกิจ จงสมจิตต์ เสนอ ภาพยนตร์ยอดฮิต ดังจากทีวีช่อง 7 มาเป็นภาพยนตร์จอยักษ์ โดย ผู้แสดงครบทีม จาก เจ้าหญิงแตงอ่อน ท่านชมจากทีวีไม่สะใจ โปรดมาดูให้เต็มอิ่มบนจอใหญ่ สมบูรณ์กว่าที่ท่านชมมาแล้วจากช่อง 7 ระบบ 35 ม.ม.สโคป ไม่มีภาพยนตร์เรื่องใดสนุกเท่า เจ้าหญิงแตงอ่อน ชานนท์ มณีฉาย วนิษฐา วัชโรบล พัชรา กองแก้ว ออยา นาวิน ณรงค์ พุทธโกษา นาคราช หาทูล เป๊ะ สุโขทัย ถ่ายภาพ จรูญ ธรรมศิลป์ กำกับการแสดง สันติสุชาภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ปลาบู่ทอง (2522/1979) ข้อความบนใบปิด ศิริมงคลโปรดัคชั่น โดย ชาญชัย เนตรขำคม เสนอ ภาพยนตร์นิยายพื้นบ้านที่ทุกครัวเรือนลืมไม่ได้ ชิต ไทรทอง กำกับการแสดง ปลาบู่ทอง ลลนา สุลาวัลย์ รับบทฝาแฝดครั้งแรก พบ ปฐมพงษ์ สิงหะ พระเอกวัยรุ่น เศรษฐา ศิระฉายา, อรสา พรหมประทาน, เทพ โพธิ์งาม, สมควร กระจ่างศาสตร์, รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง, ด.ช.เอ๋, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, ศรชัย, นิทัศน์, จิตร เชาวลิต มาฬมงคล ดำเนินงานสร้าง รังสี รุ่งรัศมี ถ่ายภาพ ชาญชัย เนตรขำคม อำนวยการสร้าง พี 78 โปรดักชั่น จัดจำหน่าย
นางสิบสอง (2517/1974) ข้อความบนใบปิด ดาราฟิล์ม เสนอ นางสิบสอง 12 BLIND WOMEN นำโดย นรา นพนิรนันดร์ เยาวเรศ นิสากร วาสนา ชลากร สมชาย ศรีภูมิ ร่วมด้วย มารศรี อิศรางกูร, ชูศรี มีสมมนต์, มาเรีย เกตุเลขา, ชฎาพร วชิรปราณี, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ถวัลย์ คีรีวัตร, เชาว์ แคล่วคล่อง, ดารา รัตนานุช ด.ช.ธวัชชัย ธีระบัญชา และ 2 ดาราคู่ขวัญ ด.ช.สยม สังวริบุตร กับ ไอ้งั่ง แห่ง”ฝนสามฤดู” ผุสดี ยมาภัย อำนวยการสร้าง มานิต สัมมาบัติ ลำดับภาพ ไพรัช สังวริบุตร กำกับการแสดง ดาราฟิล์ม โดยคนไทย เพื่อคนไทย ด้วยศักดิ์ศรีของภาพยนตร์ไทย ขอเสนอผลงานยอดเยี่ยม จากทีมผู้สร้าง ไอ้งั่ง แห่ง ฝนสามฤดู ที่ลือลั่น ด้วยแรงอธิษฐานของแม่ ด้วยปกาศิตของพ่อ ด้วยแรงกตัญญูของข้า สามสิ่งนี้ ข้าขอเป็นเกราะคุ้มภัย ด้วยชีวิตและหัวใจ เพื่อนางสิบสอง
ชูชก กัณหา ชาลี (2516/1973) ข้อความบนใบปิด บริษัทไทยสากลธุรกิจจำกัด โดย ณรงค์ สันติสกุลชัยพร เสนอ... จงมาช่วยกันอนุรักษ์ความเป็น ไทยแท้ ไว้ ยากนักที่จะมีผู้กล้าลงทุนสร้าง เพราะต้องใช้ทุนสร้างมโหฬาร ใครๆก็ทราบและดื่มด่ำใน..รสเรื่อง..อันอมตะ 2 ดารามาตรฐาน สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ นำแสดง ชูชก กัณหา-ชาลี จากพุทธประวัติก้องโลก ชมกระบวนช้างและผู้แสดงประกอบมากมาย รสเรื่องจากพุทธประวัติไม่เคยทำให้ใครผิดหวัง รัตน์ เศรษฐภักดี แห่ง “เทพกรภาพยนตร์” กำกับการแสดง ประกิต บุญยรัตพันธ์ ถ่ายภาพ อาจารย์สุรพล วิรุฬรักษ์ อกแบบฉาก-เครื่องแต่งกาย ร่วมใจฟิล์ม จัดจำหน่าย
โสนน้อยเรือนงาม (2509/1966) กษัตริย์นครโรมวิสัย (ม.ล.ขาบ กุญชร) มีพระราชธิดาที่งดงามมาก เมื่อพระราชธิดาประสูติมีเรือนไม้เล็กๆปรากฎขึ้นข้างกาย เรือนนี้เมื่อพระธิดาเจริญวัยขึ้น เรือนไม้นี้ก็โตขึ้นด้วยและกลายเป็นของเล่นของพระราชธิดา พระบิดาจึงตั้งชื่อพระราชธิดาว่า โสนน้อยเรือนงาม (เพชรา เชาวราษฎร์) เมื่อโสนน้อยเรือนงามมีพระชนม์พรรษาได้สิบห้าพรรษา โหรทูลพระบิดาว่าโสนน้อยเรือนงามกำลังมีเคราะห์ ควรให้ออกไปจากเมืองเสีย เพราะจะต้องอภิเษกกับคนที่ตายแล้ว พระบิดาและพระมารดาก็จำใจให้โสนน้อยเรือนงามออกไปจากเมืองแต่ผู้เดียว โสนน้อยเรือนงามปลอมตัวเป็นชาวบ้านและเอาเครี่องทรงพระราชธิดาห่อไว้ พระอินทร์สงสารนางจึงแปลงร่างเป็นชีปะขาวมามอบยาวิเศษสำหรับรักษาคนตายให้ฟื้นได้ โสนน้อยเรือนงามเดินทางเข้าไปในป่าพบนางกุลา (ชฎาพร วชิรปราณี) หญิงใจร้ายนอนตายเพราะถูกงูกัด โสนน้อยเรือนงามจึงนำยาของชีปะขาวมารักษา นางกุลาก็ฟื้น นางจึงขอเป็นทาสติดตามโสนน้อยเรือนงาม. ที่นครนพรัตน์มีกษัตริย์ (ม.ล.รุจิรา อิศรางกูร) ครองอยู่ มีพระราชโอรสนามว่า พระวิจิตรจินดา (ไชยา สุริยัน) ซึ่งเป็นชายหนุมรูปงามและมีความสามารถ แต่วันหนึ่งพระวิจิตรจินดาถูกนาคราชกัดสิ้นพระชนม์ พระบิดาและพระมารดาเศร้าโศรกเสียใจมาก แต่โหรทูลว่า พระวิจิตรจินดาจะสิ้นพระชนม์ไปเจ็ดปีแล้วจะมีพระราชธิดาของเมื่องอื่นมารักษาได้ พระบิดาและพระมารดาจึงเก็บพระศพของพระวิจิตรจินดาไว้ และมีประกาศให้คนมารักษาให้ฟื้น โสนน้อยเรือนงามและนางกุลาเดินทางมาถึงเมืองนพรัตน์ได้ทราบจากประกาศ จึงเข้าไปในวังและอาสาทำการรักษา โดยขอให้กั้นม่านเจ็ดชั้น ไม่ให้ใครเห็นเวลารักษา โสนน้อยเรือนงามแต่งเครื่องทรงพระราชธิดาทำการรักษา โดยนางกุลาติดตามเฝ้าดู เมื่อโสนน้อยเรือนงามทายาให้พระวิจิตรจินดา พิษของนาคราชเป็นไอร้อนออกมาทำให้นางรู้สึกร้อนมาก จึงถอดเครื่องทรงพระราชธิดาออกแล้วเสด็จไปสรงน้ำ ระหว่างนั้นนางกุลาก็นำเครื่องทรงพระราชธิดาของโสนน้อยเรือนงามามแต่ง พอดีพระวิจิตรจินดาฟื้น ทุกคนก็คิดว่านางกุลาเป็นพระราชธิดาที่รักษาจึงเตรียมจะให้อภิเษก ส่วนโสนน้อยเรือนงามต้องกลายเป็นข้าทาสของนางกุลาไป พระวิจิตรจินดาและพระบิดาและพระมารดาก็ยังมีความสงสัยในนางกุลา จึงให้นางเย็บกระทงใบตองถวาย นางกุลาทำไม่ได้โยนใบตองทิ้งไป โสนน้อยเรือนงามเก็บใบตองมาเย็บเป็นกระทงสวยงาม นางกุลาก็แย่งไปถวายพระราชบิดามารดาของพระวิจิตรจินดา พระวิจิตรจินดาไม่อยากอภิเษกกับนางกุลาจึงขอลาพระบิดาพระมารดาไปเที่ยวทางทะเล พระบิดาพระมารดาให้นางกุลาย้อมผ้าผูกเรือ นางกุลาก็ทำไม่เป็น โยนผ้าและสีทิ้ง โสนน้อยเรือนงามเก็บผ้าและสีไปย้อมได้สีงดงาม นางกุลาก็แย่งนำไปถวายพระบิดาพระมารดาอีก. เมื่อพระวิจิตรจินดาจะออกเรือก็ปรากฎว่าเรือไม่เคลื่อนที่พระวิจิตรจินดาทรงคิดว่าคงมีผู้มีบุญในวังต้องการฝากซื้อของ เรือจึงไม่เคลื่อนที่จึงให้ทหารมาถามรายการของที่คนในวังจะฝากซื้อ ทุกคนก็ได้มีโอกาสฝากซื้อ แต่โสนน้อยเรือนงามอยู่ใต้ถุนถึงไม่มีใครไปถาม เรือก็ยังไม่เคลื่อนที่ พระวิจิตรจินดาจึงให้ทหารกลับไปค้นหาคนในวังที่ยังไม่ได้ฝากซื้อของ ทหารจึงได้ไปค้นหานางโสนน้อยเรือนงามได้ นางจึงฝากซื้อ "โสนน้อยเรือนงาม" เมือพระวิจิตรจินดาเดินทางไป ลมก็บันดาลให้พัดไปยังเมืองโรมวิสัยของพระบิดาของโสนน้อยเรือนงาม พระวิจิตรจินดาซื้อของฝากได้จนครบทุกคน ยกเว้นโสนน้อยเรื่อนงาม พระวิจิตรจินดาจึงสอบถามจากชาวเมือง ชาวเมืองบอกว่าโสนน้อยเรือนงามมีอยู่แต่ในวังเท่านั้น พระวิจิตรจินดาจึงเข้าไปในวังและทูลขอซื้อโสนน้อยเรือนงามไปให้นางข้าทาส พระบิดาของโสนน้อยเรือนงามทรงถามถึงรูปร่างหน้าตาของนางทาส ก็ทรงทราบว่าเป็นพระธิดา จึงมอบโสนน้อนเรือนงามให้พระวิจิตรจินดาและให้ทหารตามมาสองคน เมื่อพระวิจิตรจินดากลับถึงบ้านเมือง ทหารเมืองโรมวิสัยก็ไปทำความเคารพนางโสนน้อยเรือนงาม และเรือนวิเศษก็ขยายเป็นเรือนใหญ่มีข้าวของเครื่องใช้พระธิดาครบถ้วน โสนน้อยเรือนงามก็เข้าไปอยู่ในเรือนนั้น พระวิจิตรจินดาจึงแน่ใจว่าโสนน้อยเรือนงามเป็นพระราชธิดาที่รักษาตน จึงจะฆ่านางกุลาแต่โสนน้อยเรือนงามขอชีวิตไว้ จึงเนรเทศนางกุลาออกจากเมือง พระวิจิตรจินดาก็ได้อภิเษกกับนางโสนน้อยเรือนงาม หลังจากอภิเษกแล้วพระวิจิตรจินดาและโสนน้อยเรือนงามได้เดินทางโดยสำเภาไปยังเมืองโรมวิสัย แต่เรือถูกพายุพัดจนแตก พระวิจิตรจินดาและทหารถูกน้ำพัดไปติดที่เกาะแห่งหนึ่งเป็นที่อยู่ของฤาษีตาไฟ ซึ่งช่วยสอนวิชาอาคมให้เพื่อพระวิจิตรจินดาจะได้เดินทางกลับบ้านเมืองได้ ส่วนโสนน้อยเรือนงามซึ่งกำลังตั่งครรภ์ได้ขึ้นฝั่งไปพบนางกุลากำลังป่วยใกล้ตายจึงใช้ยาวิเศษช่วยชีวิตไว้ แต่หลังจากฟื้นมาแล้วนางกุลากลับผลักโสนน้อยเรือนงามตกลงไปในบ่อพิษทำให้ใบหน้าอัปลักษณ์ โสนน้อยซมซานไปพบกับเศรษฐีใจบุญ (พยงค์ มุกดา) และภรรยา (ศรีสละ ทองธารา) ทั้งสองสงสารจึงเลี้ยงดูเหมือนลูกและคลอดพระโอรสออกมารูปโฉมงดงาม ส่วนนางกุลาเดินทางมาพบกับกองเกวียนของมะเดื่อ (ชาย เมืองสิงห์) ซึ่งเป็นบุตรของเศรษฐีใจบุญ นางกุลาใช้เสนห์ยั่วยวนจนได้เป็นเมียของมะเดื่อ เมื่อมะเดื่อพานางกุลามาถึงบ้านก็ได้พบกับโสนน้อยเรือนงามที่หน้าตาอัปลักษณ์ แต่นางกุลาแกล้งทำเป็นไม่รู้จัก เมื่อสบโอกาสก็แอบลักพระโอรสไปโยนทิ้งน้ำ แต่พระโอรสมีบุญไม่ถึงแก่ชีวิต ลอยไปยังเกาะที่มีฤาษีผู้มีฤทธิ์แก่กล้า ฤาษีเศกให้พระโอรสโตขึ้นเป็นเจ็ดขวบและสอนวิชาให้ นางกุลาแสดงความร้ายกาจจนครอบครัวเศรษฐีใจบุญทนไม่ไหว จึงขับไล่ออกจากบ้าน นางกุลาเดินทางมาในป่าจนพบกับเหล่าโจรป่า จึงยั่วยวนจนหัวหน้าโจรลุ่มหลง วันหนึ่งนางกุลาจึงวางแผนให้โจรป่าเข้าปล้นบ้านเศรษฐีใจบุญเพื่อจะฆ่าโสนน้อยเรือนงาม ขณะเดียวกับที่พระวิจิตรจินดาและพระโอรสต่างสำเร็จวิชาที่ร่ำเรียนกับพระฤาษี อาจารย์ของทั้งสองจึงสั่งให้มาช่วยโสนน้อยเรือนงาม พระวิจตรจินดาและพระโอรสใช้วิชาปราบเหล่าโจรร้ายจนราบคาบ และได้สาปนางกุลาให้กลายเป็นวัว โสนน้อยหมดเคราะห์กรรมทำให้ใบหน้าหายจากความอัปลักษณ์ ทั่งหมดจึงได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข
พระรถ-เมรี (2508/1965) ข้อความบนใบปิด เสน่ห์ศิลป์ภาพยนตร์ สร้าง เสน่ห์ โกมารชุน อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ พระรถ-เมรี หรือ นางสิบสอง จากวรรณคดีชาดกที่รู้กันทั่วไป นำโดย ไชยา สุริยัน เพชรา เชาวราษฎร์ และอีก 12 นางเอก เอื้อมเดือน อัษฎา, ปรียา รุ่งเรือง, เยาวเรศ นิสากร, บุษกร สาครรัตน์, อภิญญา วีระขจร, อุษา อัจฉรานิมิตร, วรรณา แสงจันทร์ทิพย์, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, ใจดาว บุษยา, สุดเฉลียว เกตุผล, แพร ไพลิน, บุษบา และ...พาทีมเสน่ห์ศิลป์ครบครัน...
ปลาบู่ทอง (2508/1965) "เศรษฐีทารกะ" ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยาสองคน คนแรกชื่อ "ขนิษฐา" มีลูกสาวชื่อ "เอื้อย" ส่วนคนที่สองชื่อ "ขนิษฐี" มีลูกสาวชื่อ "อ้าย" และ "อี่" วันหนึ่งทารกะพยายามจับปลาแต่จับทีไรก็ได้แต่ปลาบู่ตั้งท้องตัวหนึ่งกระทั่งพลบค่ำทารกะจึงจะนำปลาบู่กลับบ้านแต่ด้วยความสงสารขนิษฐาผู้เป็นภรรยาขอร้องให้ปล่อยไป ทำให้ทารกะเกิดบันดาลโทสะฆ่านางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง และบอกกับอ้ายลูกสาวว่ามารดาได้หนีตามผู้ชายไป เอื้อยเสียใจที่สูญเสียแม่ไปอีกทั้งยังโดนแม่เลี้ยงและพี่เลี้ยงกดขี่ข่มเหง สิ่งเดียวที่ปลอบประโลมเธอได้มีเพียง "ปลาบู่ทอง" ที่คือแม่ที่กลับชาติมาเกิด แต่สองแม่ลูกหารู้ไม่ว่าเธอทั้งคู่จะต้องถูกขนิษฐีและลูกๆของเธอพรากความสุขเล็กๆของพวกเธอไปครั้งแล้วครั้งเล่า ปลายทางของสองแม่ลูกที่น่าสงสารจะลงเอยเช่นไรเมื่อหนทางแห่งความสุขในชีวิตแทบจะไม่เห็นทางสว่างเลย