ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี

ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557/2014) ในปี พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรง ทรงแค้นเคืองที่ต้องปราชั­ยต่อ สมเด็จพระนเรศฯ อย่างย่อยยับ ทั้งต้องเสียไพร่พลและพระสิริโฉม จึงระบายความแค้นนั้นไปที่องค์พระสุพรรณกั­ลยา เมื่อ สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระราชบิดาทราบค­วามก็ให้โทมนัสด้วยสำนึกว่าชะตากรรมของพระ­ราชธิดาและแผ่นดินอยุธยาที่ถูกกระทำการย่ำ­ยีก็ด้วยเพราะพระองค์ทรงแปรพักตร์ไปเข้าข้­างศัตรู จนตรอมพระทัยเสด็จสวรรคต สมเด็จพระนเรศฯ ทรงมีพระชนมายุ 31 พรรษา จึงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติค­รองกรุงศรีอยุธยาสืบต่อจากพระราชบิดา สมเด็จพระมหาธรรมราชา หรือ (สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 1) ข่าวการผลัดแผ่นดินของกรุงศรีอยุธยารู้ไปถึง พระเจ้านันทบุเรง แห่งกรุงหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสในพระเจ้าบุเรงนอง สำคัญว่าราชอาณาจักรสยาม หรืออาณาจักรอยุธยาจะไม่เป็นป­กติสุขเป็นช่องชวนชิงเชิง จึงโปรดให้พระราชบุตร พระมังสาม­เกียด หรือ(พระมังกะยอขวาที่ 1) พระมหาอุปราชเจ้าวังหน้ากรีฑาทัพไปตีกรุงศรีอยุธยาอีกคำรบ นำกองทัพทหาร 240,000 นาย (สองแสนสี่หมื่นนาย) มาตีกรุงศรีอยุธยาหมายจะชนะศึกในครั้งนี้ สมเด็จพระนเรศวร ทรงทราบว่า พม่ายกทัพใหญ่มาตี จึงทรงเตรียมไพร่พล มีกำลัง 100,000 นาย (หนึ่งแสนนาย) เดินทางออกจากบ้านป่าโมก อ่างทองไปสุพรรณบุรี ข้ามน้ำตรงท่าท้าวอู่ทอง ลพบุรี และตั้งค่ายหลวงบริเวณหนองสาหร่าย โดย สมเด็จพระนเรศวร โปรดให้ พระราชมนู แต่­งพลเป็นทัพหน้าขึ้นไปลองกำลังข้าศึกถึงหนอง­สาหร่าย ทัพหน้า พระราชมนู ปะทะเข้ากับทัพพม่าถึงขั้­นตะลุมบอน แต่กำลังข้าง พระราชมนู น้อยกว่าจึงแตกพ่ายถ­อยลงมาเป็นอลหม่าน สมเด็จพระนเรศฯ ทราบความจึงออกอุบายให้ทัพข้าศึกไล่เตลิดลงมาจนเสียกระบวนแล้วจึงทรงนำกำลังออกยอทัพข้าศึก ครั้งนั้นพระคชสารทรงของสมเด็จพระนเรศฯ นามเจ้าพระยาไชยานุภาพ และพระคชสารทรงของสมเด็จพระเอกาทศรถคือเจ้าพระ­ยาปราบไตรจักรต่างตกมัน วิ่งเตลิดแบกพลฝ่าเข้าไปในทัพพม่ารามัญกลางว­งล้อมข้าศึก และหยุดอยู่หน้าช้าง พระมังสามเกียดพระมหาอุปร­าชา พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชสารอยู่ในร่มไม้กับเหล่าพระยาขุนศึก จึงทราบได้ว่าพระคชสารทรงของสองพระองค์หลงถลำเข้ามาถึงกลางกองทัพข้าศึก และตกอยู่ในวงล้อมข้าศึกแล้ว แต่ด้วยพระปฏิภาณไหวพริบของสมเด็จพระนเรศวร ทรงเห็นว่าเป็นการเสียเปรียบข้าศึกจึงไสช้างเข้าไปใกล้ แล้วตรัสถามด้วยคุ้นเคยมาก่อนแต่วัยเยาว์ว่า "พระเจ้าพี่เราจะยืนอยู่ใยในร่มไม้เล่า เชิญออกมาทำยุทธหัตถีด้วยกัน ให้สมพระเกียรติยศไว้ในแผ่นดินเถิด ภายหน้าไปไม่มีพระเจ้าแผ่นดินที่จะได้ยุทธหัตถีแล้ว" พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาได้ยินดังนั้น จึงไสพระคชสารนามว่า พลายพัทธกอเข้าชนเจ้าพระยาไชยานุภาพเสียหลัก พระมังสามเกียดพระมหาอุปราชาทรงฟันสมเด็จพระนเรศวรด้วยพระแสงของ้าว แต่ สมเด็จพระนเรศวร ทรงเบี่ยงหลบทัน จึงฟันถูกพระมาลาหนังขาด จากนั้น เจ้าพระยาไชยานุภาพชนพลายพัทธกอเสียหลัก สมเด็จพระนเรศวร ทรงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูก พระมังสามเกียด พระมหาอุปราชา เข้าที่อังสะขวา สิ้นพระชนม์อยู่บนคอช้าง ส่วน สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงฟันเจ้าเมืองจาปะโรเสียชีวิตเช่นกัน พม่าจึงยกทัพกลับกรุงหงสาวดีไป นับแต่นั้นมาก็ไม่มีกองทัพใดกล้ายกมากล้ำกรายกรุงศรีอยุธยาอีกเป็นระยะเวลาอีกยาวนาน

นักแสดงและทีมงาน

เบิร์ด วันชนะ สวัสดี

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ปีเตอร์ นพชัย ชัยนาม

ออกพระราชมนู / บุญทิ้ง

ตั๊ก นภัสกร มิตรธีรโรจน์

พระมหาอุปราชา (มังสามเกียด)

ต้น จักรกฤษณ์ อำมรัตน์

พระเจ้านันทบุเรง

นก ฉัตรชัย เปล่งพานิช

สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช

เกรซ มหาดำรงค์กุล

พระสุพรรณกัลยา

เอก สรพงศ์ ชาตรี

พระมหาเถรคันฉ่อง

ต๊อด วินธัย สุวารี

สมเด็จพระเอกาทศรถ

ชลิต เฟื่องอารมย์

นรธาเมงสอ (พระเจ้าเชียงใหม่)

เจี๊ยบ ปวีณา ชารีฟสกุล

พระวิสุทธิกษัตรีย์

คาซุกิ ยาโนะ (Yano Kazuki)

ออกญาเสนาภิมุข

ธนา สินประสาธน์

ออกญาสีหราชเดโช

ต่อลาภ กำพุศิริ

ออกญาสุโขทัย

อภิชาติ อรรถจินดา

ออกญากำแพงเพชร

แอ๊ว อำภา ภูษิต

ท้าววรจันทร์

ราวิน บุรารักษ์

พระยาพิชัยสงคราม

พยัคฆ์ รามวาทิน

พระยาจักรีศรีองครักษ์

โอ๋ อานนท์ สุวรรณเครือ

พระยาพิชัยรณฤทธิ์

ทินธนัท เวลส์ช

พระยาจันโต

วิชุดา มงคลเขตต์

เจ้าจอมมารดาสาย

ธนากร ภัทรปิยุล

ศิริไชยจอถิง

ตั้ว ศรัณยู วงษ์กระจ่าง

สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

บีเจ ปรัชฌา สนั่นวัฒนานนท์

พระนเรศวร (วัยเด็ก)

สีเทา (จรัล เพ็ชรเจริญ)

โหราธิบดีหงสาวดี (รับเชิญ)

คมน์ อรรฆเดช

ออกญาท้ายน้ำ (รับเชิญ)

ป๊อป ฐากูร การทิพย์

ขุนรามเดชะ (รับเชิญ)

โป๊ป ธนวรรธน์ วรรธนะภูติ

ขุนรามเดชะ (รับเชิญ)

กํากับการแสดง

ช่างภาพ

อาร์ต

พินโย ครองชีพ

กำกับศิลป์

นิวัฒน์ ทุมไซ

กำกับศิลป์

โปรดักชั่น

กรัณย์พล ทัศพร

ออกแบบงานสร้าง

ประสพโชค ธนะเศรษฐวิไล

ออกแบบงานสร้าง

สุดเขตร ล้วนเจริญ

ออกแบบงานสร้าง

แขก เบญจพร ปัญญายิ่ง

ควบคุมงานสร้าง

คุณากร เศรษฐี

อำนวยการสร้าง

ข้อมูลเพิ่มเติม

ดู ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี (2557) trueid
ชื่อ : ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี
Name : The Legend of King Naresuan 5
วันที่เข้าฉาย : 29 พฤษภาคม 2557
วามยาว : 118 นาที
เรท :
*เพลงประกอบภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุทธหัตถี
     เพลง สมรภูมิสุดท้าย YouTube ขับร้องโดย : สงกรานต์ รังสรรค์
*ภาพยนตร์เรื่องนี้ภาคที่ห้าของภาพยนตร์ไทยภาคชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นผลงานการผู้กำกับภาพยนตร์โดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล มีการสร้างถึง 6 ภาค ดังนี้
     องค์ประกันหงสา (2550)
     ประกาศอิสรภาพ (2550)
     ยุทธนาวี (2554)
     ศึกนันทบุเรง (2554)
     อวสานหงสา (2558)
เพิ่มรีวิว

รีวิว

  1. Admin

    9.0 rating
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี