กรุงเกษมภาพยนตร์
ป่าทรายทอง (2518/1975) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ พงษ์พันธ์ เพลินใจ อำนวยการสร้าง เมื่อนรกเกิดความบ้า... โลกนี้จึงมี ป่าทรายทอง... ป่าทรายทอง ของ ไพร วิษณุ สมบัติ เมทะนี วิยะดา อุมารินทร์ มานพ อัศวเทพ, ดวงใจ หทัยกาญจน์, วิทยา สุขดำรงค์, ศศิมา สิงห์ศิริ, จำรญ หนวดจิ๋ม, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, เสริมพันธ์ สุทธิเนตร, สุวิน สว่างรัตน์, ทานทัต วิภาตะโยธิน, โขน ศักดิ์สิทธิ์, ชาณีย์ ยอดชัย, แอ๋ นุชเล็ก, เมฆ เมืองกรุง เฉลิม บุตรบรุษ ถ่ายภาพ เทพา สร้างบทภายนตร์ ปริทรรศน์ฟิล์ม จัดจำหน่าย
แคนลำโขง (2515/1972) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ผู้สร้าง “แว่วเสียงซึง” ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์แนวแปลก สะเทือนอารมณ์ที่สนุกเหนือกว่า...นั่นคือ แคนลำโขง 35 ม.ม.สโคป สี เสียง สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ เนาวรัตน์ วัชรา ยอดดาราแห่งจอเงินประชันบท... กำธร สุวรรณปิยะศิริ สมจินต์ ธรรมทัต รอง เค้ามูลคดี ยอดดาราแห่งจอแก้ว... ร่วมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, มาลี เวชประเสริฐ, สังข์ทอง สีใส, เรียม ดาราน้อย, สีเผือก-ศรีสุริยา, โฉมฉาย ฉัตรวิไล, ด.ช.สุเทพ สีใส, ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง ชุมนุมดาวตลกทั้งเมืองไทย นำโดย ล้อต๊อก, ก๊กเฮง, ทองแถม, บังเละ, ยรรยงค์, ทองฮะ, แป๊ะอ้วน ฟัง 9 เพลงจับใจ จากผู้ประพันธ์เพลงชั้นเอก ไพบูลย์ บุตรขัน, พยงค์ มุกดาพันธุ์, มงคล อมาตยกุล, สมาน กาญจนผลิน, ชาญชัย บัวบังศร เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ แก้วฟ้า สร้างบทและละครวิทยุ พุทธชาติ อำนวยการสร้าง ชุติมา สุวรรณรัตน์ สร้างเรื่องและกำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
แว่วเสียงซึง (2514/1971) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ เสนอ ภาพยนตร์สโคป 35 ม.ม.สีอิสต์แมน เสียงในฟิล์ม แว่วเสียงซึง ชุติมา สุวรรณรัต สร้างเรื่อง และ กำกับ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ พบดาราเกียรติยศ กำธร สุวรรณปิยะศิริ คู่ เนาวรัตน์ วัชรา ร่วมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, เมตตา รุ่งรัตน์, จารุวรรณ ปัญโญภาส, ปริม ประภาพร, โขมพัสตร์ อรรถยา, มาลาริน บุนนาค, สมพงษ์ พงษ์มิตร, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, บีฟ, ลออ นพพรรณ, ด.ช.ปรีชา เกิดกำแพง, ด.ช.เปีย, แป๊ะอ้วน, ก้อง เมืองกาญจน์, พิศ, กรลดา ติดตามด้วยลูกทุ่งชื่อดัง สังข์ทอง สีใส, ชินกร ไกรลาศ, วันเพ็ญ เพ็ชรรุ่ง, ฟัง 10 เพลงลูกทุ่งไพเราะ พุทธชาติ อำนวยการสร้าง จำลอง มักนันท์ ถ่ายภาพ แก้วฟ้า สร้างบทภาพยนตร์ ละครวิทยุ โดย คณะแก้วฟ้า เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
สวรรค์บ้านนา (2513/1970) บทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัต ละครวิทยุโดยคณะ แก้วฟ้า ฟัง 7 เพลงเอกในระบบ 35 ม.ม. จาก 4 นักประพันธ์เพลงชื่อก้อง ไพบูลย์ บุตรขัน, ประดิษฐ์ อุตตะมัง, กานต์ การุณวงศ์, วิมล จงวิไล
เจ้าสาว (2513/1970) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ผู้สร้าง แว่วเสียงยูงทอง/น้ำค้าง/มือนาง/โนรี/ ที่รักจ๋า และ ภูติแห่งความรัก ภูมิใจเสนอภาพยนตร์แนวใหม่ ครื้นเครง พิลึกพิลั่น...คือ เจ้าสาว บทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ พร้อมด้วยเพลงเอกระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม นำโดย สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ พบ โสภาสถาพร ร่วมด้วย รุจน์ รณภพ, มาลี เวชประเสริฐ, พฤหัส บุญหลง, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ประมินทร์ จารุจารีต, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ดาวน้อย ดวงใหญ่, โขน หมอผี, โกร่ง กางเกงแดง, หม่อมชั้น พวงวัน, ศรีสละ ทองธารา, ยรรยงค์, ชื้นแฉะ และ เทิ่ง สติเฟื่อง, ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต ดาราลูกทุ่งดวงเด่น รุ่งระวี หนองแค ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ทวีวรรณ สร้างบท ชุติมา สุวรรณรัต กำกับการแสดง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ภูตแห่งความรัก (2512/1969) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ผู้สร้าง แว่วเสียงยูงทอง-น้ำค้าง-มือนาง-จันทร์เจ้า-โนรี-ที่รักจ๋า ภูตแห่งความรัก จากบทประพันธ์ของ ชุติมา สุวรรณรัต สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงษ์ แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, จุฑารัตน์ จินรัตน์, ศรีสละ ทองธารา, โขน หมอผี, ทานทัต วิภาตะโยธิน, โกร่ง กางเกงแดง, เถร ทรนง, ปราณีต คุ้มเดช, ชื้นแฉะ, ผาสุข, ทองถม, อุดม สุนทรจามร และ ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต แสดงนำ... ชุติมา สุวรรณรัต กำกับการแสดง เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ทวีวรรณ สร้างบท ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง เสรีภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
ที่รักจ๋า (2511/1968) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอภาพยนตร์...ที่เหนือกว่า และ ประทับใจกว่า มือนาง-โนรี-น้ำค้าง และ จันทร์เจ้า คือ... ที่รักจ๋า จากบทประพันธ์ ของ...ชุติมา สุวรรณรัต นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาวนา ชนะจิต ร่วมด้วย เมตตา รุ่งรัตน์, ฤทธี นฤบาล, ชฎาพร วชิรปรานี, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ทัต เอกทัต, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ปราณีต คุ้มเดช, นวลศิริ, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ชื้นแฉะ, บังเละ, ลุงโกร่ง กางเกงแดง, ทศ วงศ์งาม ฯลฯ ส.อาสนจินดา กำกับการแสดง วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ พิมพร สร้างบทภาพยนตร์ แก้วฟ้า จัดแสดงเป็นละครวิทยุ ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง ศิวาพรฟิล์ม จัดจำหน่าย
จันทร์เจ้า (2510/1967) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ เสนอ เพื่อลบสถิติตัวเองให้เหนือกว่า “แว่วเสียงยูงทอง” “น้ำค้าง” “มือนาง” “โนรี” จันทร์เจ้า ของ ชุติมา สุวรรณรัต ชุดา เสนีย์วงศ์ อำนวยการสร้าง ชุติมา สุวรรณรัต ดำเนินงาน ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์ ถ่ายภาพ คุณหญิง กำกับการแสดง จากละครวิทยุชื่อดังคณะ “แก้วฟ้า” “รพีพร” สร้างบท นำโดย สมบัติ เมทะนี เพชรา เชาวราษฎร์ อดุลย์ ดุลยรัตน์, เมตตา รุ่งรัตน์, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, กัณฑรีย์ นาคประภา, ชฎาพร วชิรปราณี, ประภาศรี เทพรักษา, มนัส บุณยเกียรติ, สมพล กงสุวรรณ, ทานทัต วิภาตะโยธิน, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, หม่อมชั้น พวงวัน, ด.ญ.ชลธิชา สุวรรณรัต พร้อมด้วย นวลศรี, สมโภชน์, ชื้นแฉะ, ระเบียบ, ทองถม บริษัทกรุงเกษมภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
โนรี (2510/1967) ข้อความบนใบปิด กรุงเกษมภาพยนตร์ เคยฝากผลงานเป็นที่เชื่อถือมาแล้ว เช่น แว่วเสียงยูงทอง-น้ำค้าง-มือนาง ทุ่มทุนสร้าง โนรี ให้เป็นหนังสมคุณค่าแด่ท่าน ในปี 2510 นี้ มิตร ชัยบัญชา ดาราผู้รับรางวัลพระราชทาน ดาราทอง เพชรา เชาวราษฎร์ ดารายอดนิยม โนรี จากบทประพันธ์แสนรักของ อิงอร จากละครวิทยุที่ฮิททั่วประเทศของคณะ แก้วฟ้า และดาราเด่น ชนะ ศรีอุบล, อดุลย์ ดุลยรัตน์, บุศรา นฤมิต, กิ่งดาว ดารณี, อรสา อิศรางกูร, กัณฑรีย์ นาคประภา, ชุมพร เทพพิทักษ์, เชาว์ แคล่วคล่อง, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา อำนวยการสร้าง ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-วิเชียร วีระโชติ ถ่ายภาพ พันคำ กำกับการแสดง บริษัทกรุงเกษมภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
มือนาง (2509/1966) หมอดนัย (อดุลย์ ดุลยรัตน์) แต่งงานกับ ทิพวรรณ (บุศรา นฤมิตร) มีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคนอายุประมาณ 7 ขวบ ชื่อ เมษยา วันหนึ่งหมอดนัยขับรถจะพาภรรยาและลูกไปเยี่ยมแม่ของดนัย รถเกิดอุบัติเหตุพลิกคว่ำบนเขาทำให้ทิพวรรณซึ่งนั่งคู่ไปกับหมอดนัยเสียชีวิตทันที และกระจกยังบาดที่ข้อมือทิพวรรณจนมือขาดกระเด็นไป หมอดนัย และเมษยาบาดเจ็บเล็กน้อย หมอดนัยเสียใจมากที่สุดเพราะรักทิพวรรณมากแต่เธอต้องมาตายจากไปเพราะความผิดพลาดของเขาเอง ก่อนที่ตำรวจจะมาพลิกศพ หมอดนัยเห็นมือของทิพวรรณที่ขาดกระเด็นไป นิ้วมือกระดิกได้ เขาคิดว่าจะใช้ความรู้ทางการแพทย์ทำให้มือของทิพวรรณที่ขาดออกจากร่างไม่เน่าไม่เปื่อย เขาจะเก็บมือของทิพวรรณไว้แทนตัวทิพวรรณในยามคิดถึง หมอดนัยได้นำมือของทิพวรรณมาเก็บไว้ในบ้าน โดยใส่ตู้กระจกไว้ในที่ที่ลับตา วิญญาณของทิพวรรณยังคงวนเวียนอยู่ในบ้านเพราะเป็นห่วงลูกมาก ต่อมา ภารดา (ชฎาพร วชิระปราณี) เพื่อนของทิพวรรณได้มาตีสนิทหมอดนัยและแสดงท่าทีรักใคร่เมษยา ในที่สุดหมอดนัยก็ตัดสินใจแต่งงานกับภารดาเพราะเห็นว่าเธอรักเมษยาเหมือนลูก หลังจากแต่งงานกับหมดดนัยแล้วภารดาก็แสดงธาติแท้ออกมา ด้วยการข่มเหงเมษยาจนวิญญาณของทิพวรรณทนไม่ได้ ทุกครั้งที่วิญญาณของทิพวรรณปกป้องลูก มือที่อยู่ในตู้กระจกซึ่งหมอดนัยซ่อนไว้ก็จะกระดิกได้ คุณนายชื่นวรรณ (กัณทรีย์ นาคประภา) แม่ของภารดาสั่งให้คนขับรถเอาด้ายสายสิญจน์ลงอาคมพันมือของทิพวรรณแล้วเอามือของทิพวรรณไปทิ้งในที่เปลี่ยวรกร้าง หมอดนัยทราบเรื่องก็ออกตามหามือของทิพวรรณจนพบ หมอดนัยตัดปัญหาระหว่างลูกกับภรรยาใหม่ด้วยการซื้อที่ดินติดกับรั้วบ้านปลูกบ้านใหม่ให้เมษยาอยู่ เมษยาโตเป็นสาว (เพชรา เชาวราษฎร์) ลูกของภารดาที่เกิดกับหมอดนัยหนึ่งคนก็เป็นสาวแรกรุ่นชื่อ มุตา (เยาวเรศ นิสากร) มีนิสัยเหมือนภารดาผู้เป็นแม่ทุกอย่าง ขณะที่ภีมภพ (มิตร ชัยบัญชา) ได้มางานวันเกิดของภารดา ภีมภพแสดงท่าทีสนใจเมษยา ทำให้ภารดาโกรธแค้นมาก เพราะหมายตาจะให้มุตาแต่งงานกับภีมภพเพราะพ่อของภีมภพมีฐานะดี คุณนายชื่นวรรณ ภารดา มุตาปรึกษาวางแผนจ้างคนฉุดเมษยาไปทำลาย แต่วิญญาณของทิพวรรณและภีมภพตามไปช่วยไว้ทัน ทิพวรรณโกรธแค้นมากจึงอาละวาดอย่างหนักจนคุณนายชื่นวรรณ ภารดาและมุตาต้องประสบเคราะห์กรรมตามสนองทุกคน ในที่สุดภีมภพกับเมษยาก็เปิดใจถึงความรู้สึกที่มีต่อกัน
น้ำค้าง (2509/1966) น้ำค้าง เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2509 เป็นผลงานการกำกับของ ส.อาสนจินดา โดยมี ชุดา เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา เป็นผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพโดย ปรีชา ทรัพย์พระวงศ์-วินิจ ภักดีวิจิตร สร้างฉากโดย อุไร ศิริสมบัติ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทเอกรัตน์จำกัด