สันดานดิบ (2508)
สันดานดิบ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด นักเลงผมทอง หรือ สิงห์ปืนซ้าย ขอท้าทายยอดมือปืนทุกๆคนในแผ่นดินที่ไร้กฎหมาย สันดานดิบ ของ ส.เนาวราช ไชยา สุริยัน ดาราตุ๊กตาทอง 3 ปีซ้อน ภาวนา ชนะจิต ชนะ ศรีอุบล พร้อมด้วย พร ไพโรจน์, อภิญญา วีระขจร, แก่นใจ มีนะกนิษฐ์, ล้อต๊อก, ชนินทร, เทียนชัย, ไสล พูนชัย, ถวิล, สัมพันธ์, อบ บุญติด, ชูเตี้ย, ปราณีต คุ้มเดช, บู๊ วิบูลย์นันท์ ประทีป โกมลภิส สร้างบท-กำกับการแสดง ฉลอง กลิ่นพิกุล ถ่ายภาพ บริษัทสหการภาพยนตร์ไทยจำกัด จัดจำหน่าย
เจ้าเมือง (2508)
เจ้าเมือง (2508/1965) ข้อความบนใบปิด พิษณุภาพยนตร์ ภูมิใจเสนอภาพยนตร์ชีวิต, บู๊, แหวกแนว ยิ่งใหญ่ เจ้าเมือง ของ อ้อย อัจฉริยกร สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ ทักษิณ แจ่มผล เยาวเรศ นิสากร ร่วมด้วย สมพล กงสุวรรณ, อดินันท์ สิงห์หิรัญ, วิน วิษณุรักษ์, วีนัส ศรีประไพ, ชาลี อินทรวิจิตร, อภิญญา วีระขจร, ขวัญตา บัวเปลี่ยนสี, เพชร, นำพล, สมาน, ทองแถม, ล้อต๊อก และแนะนำพระเอกใหม่ บัญชา ประชากร ให้อยู่ในความโอบอุ้มของท่าน รังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง วินิจ ภักดีวิจิตร ถ่ายภาพ วิจารณ์ ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ถิ่นผู้ดี (2508)
ถิ่นผู้ดี (2508/1965) ข้อความบนใบปิด สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ สนั่น จรัสศิลป์ อำนวยการสร้าง-กำกับการแสดง มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ปรียา รุ่งเรือง เยาวเรศ นิสากร พรทิพย์ภา นำ ร่วมด้วย สุวิน สว่างรัตน์, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, มาลี เวชประเสริฐ, ม.ร.ว.ประสิทธิศักดิ์ สิงหรา, หม่อมชั้น พวงวัน ถิ่นผู้ดี ประดิษฐ์ กัลย์จาฤก ประพันธ์เรื่อง สมชาย จันทวังโส ถ่ายภาพ
น้ำเพชร (2508)
น้ำเพชร (2508/1965) ข้อความบนใบปิด บางกอกการภาพยนตร์ โดยตากล้องตุ๊กตาทองพระราชทาน ฉลอง ภักดีวิจิตร ภูมิใจเสนอ เพชรคือยอดมณีค่าล้ำเลิศ ยอดหนังดีมีค่าบรรเจิดเลิศล้ำ น้ำเพชร ของ ป.พิมล มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ชนะ ศรีอุบล บุศรา นฤมิตร ประจวบ ฤกษ์ยามดี ทักษิณ แจ่มผล อภิญญา วีระขจร, พงษ์ลดา พิมลพรรณ, กัณฑรีย์ นาคประภา, ประมินทร์ จารุจารีต, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และ ส.อาสนจินดา นำ ส.อาสนจินดา สร้างบท-กำกับการแสดง ฉลอง ภักดีวิจิตร อำนวยการสร้าง วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
วีรบุรุษเมืองใต้ (2508) วีระบุรุษเมืองใต้ (2508)

วีรบุรุษเมืองใต้ (2508/1965) วีรบุรุษเมืองใต้ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2508 สร้างโดย พันธมิตรภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย วิเชียร วีระโชติ และจัดจำหน่ายโดยบริษัทเอกรัตน์จำกัด

เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508)

เรื่องย่อ : เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2508/1965) ล้านทุกครั้ง..ดังทุกที ดีทุกเรื่อง..เฟื่องกว่าที่แล้ว คือ เกียรติศักดิ์ทหารเสือ ของ อิงอร วัชรินทร์นคร มีกษัตริย์วัชรินทร์ (อดุลย์ ดุลยรัตน์) เป็นพระประมุข และพระเชษฐาจักรกฤษณ์ (ส.อาสนจินดา) เป็นเสนาบดีกลาโหม พระเชษฐาทรงอุปการะเด็กชายไว้ 3 คนจนกระทั่งพวกเขาเติบโตเป็นหนุ่ม ได้แก่พันโทพิสุทธิ์ (สมบัติ เมทะนี) พันตรีนิเวศน์ (ทักษิณ เจ่มผล) และร้อยเอกภูเบศร์ (ไชยา สุริยัน) ซึ่งทั้งสามเป็นลูกชายของแม่รำเพย (สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย) แม่นมของเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข (พิศมัย วิไลศักดิ์) พระราชธิดาขององค์กษัตริย์วัชรินทร์ ต่อมามีการคัดเลือกราชองครักษ์ประจำพระองค์กษัตริย์ คู่ต่อสู้ 2 คนสุดท้ายคือ พิสุทธิ์ และภูเบศร์ พิสุทธิ์มีฝีมือเหนือกว่าแต่ภูเบศร์แอบกระซิบขอร้องให้พี่ชายยอมแพ้ เพราะตนเองต้องการเป็นราชองครักษ์และได้ใกล้ชิดกับเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข พิสุทธิ์รักน้องมากจึงแสร้งแพ้ แต่กษัตริย์วัชรินทร์ทรงมองออกว่าพิสุทธิ์ออมมือ จึงประกาศแต่งตั้งพันโทพิสุทธิ์เป็นราชองครักษ์ประจำพระองค์ ทำให้ภูเบศร์โกรธแค้นพิสุทธิ์มาก พลเอกสีหราช (สาหัส บุญ-หลง) ผู้บัญชาการทหาร คิดมักใหญ่ใฝ่สูงต้องการครองบัลลังค์ จึงเกลี้ยกล่อมบรรดานายทหารเป็นพวก รวมทั้งพันตรีนิเวศน์และร้อยเอกภูเบศร์ ในการซ้อมรบ เจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขได้ตามเสด็จพระราชบิดามาด้วย โดยมีพันโทพิสุทธิ์เป็นราชองครักษ์ ม้าทรงของเจ้าหญิงตกใจเสียงปืนใหญ่จึงวิ่งเตลิด พิสุทธิ์ควบม้าติดตามไป เจ้าหญิงทรงตกจากหลังม้าได้รับบาดเจ็บที่ขา แต่พิสุทธิ์ไม่กล้าแตะต้องพระองค์เนื่องจากจะเป็นการผิดกฎมณฑียรบาล แต่บังเอิญฝนได้ตกลงมาอย่างหนัก พิสุทธิ์จึงอุ้มเจ้าหญิงเข้าไปหลบฝนในตึกร้าง เหตุการณ์ทั้งหมดอยู่ในสายตาของพลเอกสีหราช และพรรคพวก พลเอกสีหราชให้นิเวศน์และภูเบศร์มาเกลี้ยกล่อมพิสุทธิ์เข้าเป็นพวก โดยเอาพระเกียรติของเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขมาเป็นเครื่องขู่บังคับ พิสุทธิ์จำต้องยอมรับปากเพื่อรักษาพระเกียรติ เมื่อพลเอกสีหราชเตรียมการพร้อมแล้วจึงสั่งให้พิสุทธิ์ปลงพระชนม์ขณะทรงบรรทม แต่ด้วยความจงรักภักดีและสำนึกในหน้าที่พิสุทธิ์จึงมิอาจลงมือ สีหราชจึงสั่งให้นิเวศน์และภูเบศร์ปลงพระชนม์ พิสุทธิ์ขัดขวางอย่างสุดชีวิต เมื่อเกิดเสียงอึกทึกขี้นพระเชษฐานำกำลังทหารเข้ามาในพระตำหนัก พลเอกสีหราช นิเวศน์ ภูเบศร์ และพรรคพวกใส่ร้ายว่า พิสุทธิ์จะลอบปลงพระชนม์ พิสุทธิ์ไม่ยอมปฏิเสธเนื่องจากเกรงว่าสีหราชจะกล่าวถึงเรื่องที่พิสุทธิ์และองค์หญิงทำผิดกฎมณเฑียรบาล ทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ กษัตริย์วัชรินทร์รับสั่งให้นำพิสุทธิ์ไปคุมขังเพื่อทำการสอบสวน พิสุทธิ์ยอมรับความผิดแม้ว่าจะเสียใจที่ทำให้แม่รำเพยต้องเสียน้ำตา เพราะคิดว่าลูกของตนเองคิดทรยศต่อแผ่นดิน กษัตริย์วัชรินทร์จำต้องรับสั่งให้ลงโทษประหารชีวิตพิสุทธิ์ แม้ในพระทัยจะไม่เชื่อว่าพิสุทธิ์เป็นคนทรยศ เมื่อถึงกำหนดวันประหาร ก่อนที่พิสุทธิ์จะเดินออกจากคุกหลวง บรรดานักโทษซึ่งก็คือเหล่าทหารที่จงรักภักดี แต่ถูกพลเอกสีหราชแกล้งใส่ร้ายจนถูกคุมขัง พร้อมใจกันร้องเพลง เกียรติศักดิ์ทหารเสือ เพื่อเป็นเกียรติแก่พันโทพิสุทธิ์ วัชรวัลลภ เมื่อพิสุทธิ์ถูกนำตัวไปแล้ว นิเวศน์ซึ่งบังเกิดความละอายใจที่ทำให้พี่ชายผู้บริสุทธิ์ต้องได้รับโทษถึงชีวิต ได้เข้ากราบบังคมทูลความจริงต่อองค์กษัตริย์วัชรินทร์ ทรงรับสั่งให้พระเชษฐานำกำลังทหารเข้าปราบปราบกบฏพลเอกสีหราชจนราบคาบ พร้อมกับให้นิเวศน์รีบนำธงหยุดประหารไปยังแดนประหาร แต่นิเวศน์มาถึงแดนประหารช้าไป ภูเบศร์ซึ่งคุมการประหารได้สั่งให้ทหารยิงไปแล้ว แต่เมื่อสิ้นเสียงปืนพิสุทธิ์กลับไม่เป็นอะไร เนื่องจากคืนก่อนวันประหารภูเบศร์ซึ่งสำนึกเสียใจที่ทำผิดต่อพี่ชายได้แอบเข้าไปเปลี่ยนลูกปืนสำหรับประหารเป็นลูกปลอม แต่แล้วก็มีเสียงปืนดังขี้นนัดหนึ่งและภูเบศร์ล้มลงจมกองเลือด ขณะเดียวกับกษัตริย์วัชรินทร์ เจ้าหญิงนภาเขตเสมอแข พระเชษฐาจักรกฤษณ์ แม่รำเพย และเหล่าทหารหาญเดินทางมาถึง ภูเบศร์บาดเจ็บแต่ไม่เสียชีวิต กษัตริย์วัชรินทร์ทรงพระราชทานอภัยโทษให้ สามพี่น้องชาติทหารกลับมารักกันดั่งเดิม กษัตริย์วัชรินทร์โปรดให้จัดงานอภิเษกระหว่างพันโทพิสุทธิ์และเจ้าหญิงนภาเขตเสมอแขอย่างสมพระเกียรติ

ลูกนก (2508)

ลูกนก (2508/1965) ไชยา-รัตนาภรณ์ ข้อความบนใบปิด กมลศิลปภาพยนตร์ เสนอ จาก “สกาวเดือน” “ลูกทาส” จึงถึง “ลกนก” กมลศิลปรายเดียวที่ “แกรนด์” โรงดังหน้าวังบูรพา อ้าแขนต้อนรับด้วยความยินดี มีโปรแกรมให้เสนอเสมอมา... ลูกนก ของ รพีพร ไชยา สุริยัน รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อมรา อัศวนนท์ วิไลวรรณ วัฒนพานิช อดุลย์ ดุลยรัตน์, สมควร กระจ่างศาสตร์, ประมินทร์ จารุจารีต, ราชันย์ กาญจนมาศ, วีนัส ศรีประไพ, ชฎาพร วชิรปราณี, นิตยา, สมพงษ์ พงษ์มิตร, พูนสวัสดิ์ ธีมากร, ทองแถม, ด.ญ.วัชราภรณ์ พึ่งสังข์ สนับสนุน รัตนาภรณ์ (น้อย) อินทรกำแหง เริง อภิรมย์ สร้างบท อนุศักดิ์ เจนจรัสสกุล ถ่ายภาพ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง อำนวยการสร้าง น้อย กมลวาทิน กำกับการแสดง เริ่มรอบโดยเสด็จพระราชกุศลของ 2 องค์ล้นเกล้าฯ ศุกร์ที่ 2 ก.ค.นี้ ที่ แกรนด์ โรงหนังดังย่านวังบูรพา จองบัตร “รอบมหากุศล”โดยเสด็จพระราชดำเนินฯ สมทบทุนมูลนิธิคนตาบอด คืนวันพุธที่ 30 มิ.ย.นี้ จุรี-สมพงษ์-รุจิกร ร่วมพากย์

 
สามมงกุฎ (2508)
สามมงกุฎ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด สหมิตร ภาพยนตร์ ขอเสนอ สามมงกุฎ ให้เป็นสุดที่รักของท่าน สมบัติ เมทะนี เมตตา รุ่งรัตน์ พบ รุจน์ รณภพ, ปรียา รุ่งเรือง, พัลลภ พรพิษณุ, เยาวเรศ นิสากร ร่วมด้วย ชฎาพร วชิรปรานี, จรูญ สินธุเศรษฐ์, สิงห์ มิลินทราศัย สมพงษ์ พงษ์มิตร, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองฮะ, ดาวน้อย ดวงใหญ๋, หม่อมชั้น พวงวัน, บู๊ วิบูลย์นันท์ ประกายเพชร ประพันธ์บท วสันต์ สุนทรปักษิณ-ปิ่นน้อย สร้างบทภาพยนตร์ อ.อรรถจินดา-สมาน ทองทรัพย์สิน อ.อรรถจินดา-สมาน ทองทรัพย์สิน-เฉลิม บุตรบุรุษ ถ่ายภาพ ประสพ ปิ่นน้อย สร้าง-กำกับ ไทยฟิล์ม จัดจำหน่าย
เหนือมหากาฬ (2508)
เหนือมหากาฬ (2508/1965) เหนือมหากาฬ เป็นภาพยนตร์สี 16 มม.ที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2508 กำกับการแสดงโดย วิน วันชัย
เสือข้ามแดน (2508)

เสือข้ามแดน (2508/1965) ร้อยป่าภาคพิเศษ เสือข้ามแดน ภาพยนตร์เรื่องยิ่งใหญ่ ตื่นเต้นสุดยอด จากนวนิยายขายดีของ อรชร พันธุ์ บางกอก เลือดพล่านด้วยเล่ห์เหลี่ยมร้อยแปดของทรชน ชม...พฤติการณ์ใหม่ของ เสือ กลิ่นสัก ผู้รักความยุติธรรมเท่าชีวิต

จามรี-สีฟ้า (2508) จามรีสีฟ้า
จามรี-สีฟ้า (2508/1965) ข้อความบนใบปิด บูรพาศิลป์ภาพยนตร์ เสนอภาพยนตร์ชีวิต พิศวาสของเด็กสาวฝาแฝด แบบรักอลวน เหตุการณ์อลเวง ครื้นเครงตลอดเรื่อง มิตร ชัยบัญชา พิศมัย วิไลศักดิ์ พบ ไชยา สุริยัน ยอดดาราที่กล้าประชันบทกันครั้งสุดท้าย จามรี-สีฟ้า ของ ป.พิมล พันคำ กำกับการแสดง พร้อมด้วย ประจวบ ฤกษ์ยามดี, วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อภิญญา วีระขจร, เชาว์ แคล่วคล่อง, ชาณีย์ ยอดชัย, จุ๋มจิ๋ม ศรทอง, ล้อต๊อก, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม และสาวไฉไล ใจดาว บุษยา ดาราเกียรติยศ พันคำ, ส.อาสนจินดา สำเภา ประสงค์ผล อำนวยการสร้าง ประเทือง ศรีสุพรรณ ถ่ายภาพ วัชรภาพยนตร์ จัดจำหน่าย
หนึ่งในสยาม (2508)
หนึ่งในสยาม (2508/1965) ด้วยความภูมิใจครั้งยิ่งใหญ่ ศรีบูรพาภาพยนตร์ เสนอ.. เรื่องราวของลูกผู้ชายผู้รักศักดิ์ศรีจากนวนิยายขายดีเป็นประวัติการณ์ ของ อ้อย อัจฉริยกร
ขวัญชีวิต (2508)
ขวัญชีวิต (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ต๊อกบูมภาพยนตร์ เสนอ.. เรื่องเดียวที่ชีวิตหนัก รักรื่นเริง ชื่นชีวัน คือ... ขวัญชีวิต ของ นาถฤดี ซึ่งเป็นหนังสือขายดีประจำยุค และเป็นละครวิทยุที่แสนสนุกอยู่ในปัจจุบัน ที่กำลังเป็น ขวัญชีวิตของผู้ฟังทุกครัวเรือน คณะแก้วฟ้า มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฎร์ ประจวบ ฤกษ์ยามดี, ปรียา รุ่งเรือง, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, กิ่งดาว ดารณี นำ ร่วมด้วย สุพรรณ บูรณพิมพ์, อบ บุญติด, สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต, มนัส บุณยเกียรติ, ทศ, เทียว ธารา กำกับโดย ผู้กำกับสามล้าน ของต้นปี 08 นี้คือ.. รังสี ทัศนพยัคฆ์ ล้อต๊อก อำนวยการสร้าง ธีระ แอคะรัจน์ ถ่ายภาพ
ผู้ใหญ่ลี (2508)
ผู้ใหญ่ลี (2508/1965) ข้อความบนใบปิด หมาน่อยธรรมดา!! หมาน่อยธรรมดา!! มาแล้วสมบูรณ์แบบ ทันอกทันใจ ผู้ใหญ่ลี สีวิจิตร สมบัติ เมทะนี บุศรา นฤมิต ทักษิณ แจ่มผล, ปรียา รุ่งเรือง, ส.อาสนจินดา, สมจิตร ทรัพย์สำรวย, เสน่ห์ โกมารชุน, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, ทองแถม, ขวัญ, ถวัลย์ คีรีวัตร, บู๊ วิบูลย์นันท์, ทอมมี่, แอ๊ด, พิภพ ภู่ภิญโญ และล้อต๊อก นำแสดง (ที่มา :Thai Movie Posters)
วังเสือ (2508)
วังเสือ (2508/1965) ข้อความบนใบปิด ศิวารมณ์ภาพยนตร์ เสนอ 2 ผู้กำกับ มารุต-เนรมิต วังเสือ มิตร-เพชรา ประจวบ พบ รัตนาภรณ์ ธม ธาตรี สร้างบทจากละครวิทยุ รัตน์ เศรษฐภักดี ถ่ายภาพ สงาน มัทวพันธ์ อำนวยการสร้าง เอวันฟิล์ม จัดจำหน่าย
ฆ่ายัดกล่อง (2508)
ฆ่ายัดกล่อง (2508/1965) ครูคำรณ (คำรณ สัมบุณณานนท์) อดีตนักร้องที่ตกรุ่นไปแล้ว ต่อมาเมื่อหลานชายคือ จรินทร์ (กิติกร สุนทรปักษิน) เดินทางมาอาศัยอยู่ด้วย ครูคำรณจึงแต่งเพลงให้จรินทร์ร้อง เมื่อจรินทร์ได้เป็นนักร้องดังมีชื่อเสียง จรินทร์ก็พากิมลั้ง (ปริม ประภาพร) ลูกสาวเถ้าแก่ขายก๊วยจั๊บหนีไปอยู่ด้วยกัน สร้างความผิดหวังให้แก่ครูคำรณเป็นอย่างมาก จรินทร์มีชื่อเสียงได้ไม่นานก็ต้องพบกับความผิดหวังเพราะแอบไปมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับเตือนใจ (แก่นใจ มีนะกนิษฐ์) เด็กของนายห้างแผ่นเสียงที่ตนทำงานอยู่ด้วย จึงถูกเฉกหัวออกจากค่ายเพลง เมื่อชีวิตตกต่ำ จรินทร์ก็ย้อนกลับไปคืนดีกับกิมลั้ง สัญญาว่า จะเริ่มต้นชีวิตกันใหม่ แต่ระหว่างที่จรินทร์กำลังหางานทำอยู่นั้น กิมลั้งเกิดแท้งลูก ต้องผ่าตัดและจำเป็นจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก จรินทร์ไม่รู้ว่าจะหาเงินจากที่ไหนไปจ่ายค่าโรงพยาบาล จึงจับลูกชายเสี่ยร้านขายยาไปเรียกค่าไถ่ แต่เกิดการต่อสู้กัน จรินทร์พลั้งมือฆ่าเหยื่อตาย จึงหั่นศพใส่ลังกระดาษไปซุกไว้ในโบกี้รถไฟ ต่อมาตำรวจสืบได้ว่า จรินทร์เป็นคนร้าย จรินทร์จึงหนีไปหาหลวงพ่อในถ้ำที่ราชบุรีเพื่อหวังจะบวชล้างบาป แต่ตำรวจ ครูคำรณ กิมลั้ง ก็ตามไปทันและช่วยกันเกลี่ยกล่อมจนจรินทร์ยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ