ประวัติศาสตร์
เรื่องย่อ : แม่หยัว (2567/2024) เป็นเรื่องราวของ “จินดา” (ดาวิกา โฮร์เน่) ธิดาของ “ออกพระลพบุรี” (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี) ผู้เลิศด้วยรูปลักษณ์ และสติปัญญา เธอถือกำเนิดด้วยดวงชะตาที่สูงส่งเหนือคนทั้งปวง พร้อมรับภารกิจที่ยิ่งใหญ่ นั่นคือการช่วงชิงบัลลังก์จาก “สมเด็จพระไชยราชาธิราช” (ธีรภัทร์ สัจจกุล) กษัตริย์นักรบแห่งอโยธยา กลับสู่เชื้อสายราชวงศ์ละโว้ของตน ㅤㅤจินดาจำต้องถวายตัวเป็นหนึ่งในพระสนมเอกสี่ทิศ ทำให้เธอจำต้องพรากจากชายคนรักนาม “วามน” (ธนภัทร กาวิละ) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเดินทางเข้าถวายตัวในครั้งนี้ จินดาต้องเผชิญหน้ากับพระสนมเอกต่างเมืองอีก 3 คน นั่นก็คือ “จิตรวดี” (ปานวาด เหมมณี), “ละอองคำ” (สิรีธร ลีห์อร่ามวัฒน์) และ “ตันหยง” (นพจิรา ฤกษ์ขจรนามกุล) ที่ต่างก็ต้องการขึ้นเป็นพระอัครมเหสี ท่ามกลางการช่วงชิงบัลลังก์และอำนาจครั้งนี้นำมาซึ่งเรื่องราวอันซับซ้อนและพลิกผันมากมาย เมื่อสตรี…มิใช่เพียงหมากบนกระดาน การต่อสู้ครั้งนี้จึงมิอาจวางตา เตรียมพบกับเกมชิงอำนาจสุดยิ่งใหญ่ครั้งนี้ได้ในละคร “แม่หยัว” ที่ออกอากาศทุกวันพุธ – พฤหัสบดี เวลา 20:30 น. ทางช่อง one31 เริ่มตอนแรกวันพฤหัสบดีที่ 24 ตุลาคม 2567
เรื่องย่อ : คู่พระคู่นาง (2567/2024) เรื่องราวของ ดิน (ตงตง กฤษกร) หนุ่มกำพร้า ผู้รักการร้องรำยี่เกเป็นชีวิตและจิตใจ แต่เส้นทางการเป็นพระเอกยี่เกของดินนั้นไม่ง่าย เมื่อต้องเผชิญกับความน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตที่ถูกคนดูแคลน ทำให้ดินเกิดความทะเยอทะยานอยากถีบตัวเองจากดินสู่ดาว หวังมีชีวิตที่ดี โดยมี โสน (ปลายฟ้า ณัชภรณ์) เด็กสาวสู้ชีวิต ผู้ที่แอบมีใจรักมั่นในดิน ชายหนุ่มผู้เป็นรักแรกและรักเดียว คอยสนับสนุนทุกย่างก้าวในชีวิต จนดินได้ก้าวขึ้นเป็นพระเอกยี่เกรูปงามที่ตกเป็นที่หมายปองของสาวหลายคน เมื่อเธอให้เขาเป็นรักแท้เพียงหนึ่งเดียวในหัวใจ แต่เขากลับทำลายซึ่งทุกสัญญารัก เส้นทางรักของเขาและเธอจะลงเอยอย่างไร (ที่มา: ช่อง one)
พระนคร ๒๔๑๐ (2566/2023) เรื่องราวของ คุณพระ หรือ พระฤทธิรงค์รณยุทธ์ (ฌอห์ณ) แห่งกองโปลิศ ชายหนุ่มรูปงาม ผู้มีบาดแผลในใจ ที่ทุ่มเทชีวิตให้กับงานปราบกบฏพระนคร จึงไม่เคยหาความสุขให้ตัวเอง หรือคิดจะออกเรือน ทำเอาญาติผู้ใหญ่หัวจะปวด จึงว่าจ้าง ยายแถม (ป้าจิ๊ อัจฉราพรรณ) แม่สื่อเบอร์หนึ่งแห่งพระนคร ซึ่งมีหลานสาวลูกครึ่งหน้าตาแหม่มจ๋า นามว่า โนรี (ชาร์เลท) เป็นผู้ช่วยตัวแสบ ภารกิจจับคู่ให้กับพระฤทธิรงค์รณยุทธ์ครั้งนี้ โนรีขออาสาเป็นแม่สื่อออกโรงเอง เมื่อโปลิสหนุ่มพยายามหนีการจับคู่ ต้องมาเจอกับแม่สื่อสาวสายตื๊อตัวแสบ ที่ดันตกหลุมรักลูกค้าตัวเองซะงั้น เมื่อ คุณพระ โปลิศหนุ่มไม่แลรัก ต้องมาเจอ โนรี แม่สื่อแม่ชักจอมวางแผน ที่แอบรักลูกค้าตัวเอง เธอจะห้ามความรู้สึกครั้งนี้ได้อย่างไร งานนี้เรื่องวุ่น ๆ ที่เต็มไปด้วยการตามหาความจริงมากมายจึงเกิดขึ้น ตามลุ้นกันต่อได้ในละคร พระนคร ๒๔๑๐
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน (2562/2019) หลังจากนันทบุเรงขึ้นครองราชย์เดินหน้าทำศึก เพิ่มกองกำลังทหารบุกเข้าตีเมืองสยาม และจับเชลยมาเป็นทาส ให้มากกว่าเดิม ฝั่งเมืองสยามรวมตัวนักรบไทยใหญ่ อาทิ ชาวรามัญ และชาวละแวก แม้จำนวนทหารที่มีด้อยกว่า แต่ด้วยพระอัจฉริยภาพของ “สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” วางแผนรับมือกับข้าศึกที่มีจำนวนมากกว่า ด้วยวิธีการรบแบบกองโจรตีโอบล้อมบุกยึดแคว้นกบฏแต่ละแคว้น ได้อย่างรัดกุมและรอบคอบ พร้อมกับได้พันธมิตรหน้าใหม่ที่เข้ามาร่วมรบอีกมากมาย แต่ก็ต้องรับมือกับหนอนบ่อนไส้ที่แฝงตัวเข้ามา ในขณะที่ฝั่งสยามรุกคืบหน้าการโจมตีเหนือกว่าหงสาหนึ่งก้าวเสมอ แต่ก็ยังไม่สามารถจบสงครามที่ยึดเยื้อมาเป็นเวลานานหลายสิบปีได้ เพราะพระเจ้าหงสาฯ ยังคงครอบครอง ตัวประกันสำคัญหนึ่งเดียวของฝั่งอโยธยานั่นก็คือ “พระพี่นางสุพรรณกัลยา”ความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระพี่นางฯ, ความรักระหว่างรบที่ต้องเลือกความถูกต้อง และชั้นเชิงการต่อสู้ที่ต้องรับมือกับศัตรูที่มารุกรานครั้งใหญ่ บทสรุปจะลงเอยอย่างไร ติดตามได้ใน “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดอะซีรี่ส์ ภาคศึกล้างแผ่นดิน”
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเดอะซีรีส์ ภาคประกาศอิสรภาพ (2561/2018) หลังจากพระองค์ดำหรือพระนเรศหนีกลับพระพิษณุโลกสองแควได้แล้วนั้น หลายปีผ่านไป พระองค์ได้เจริญชันษาขึ้น และกลายเป็นอุปราชผู้รั้งเมืองพระพิษณุโลกสองแคว ต่อมาในปีพุทธศักราช 2124 พระเจ้าบุเรงนอง เสด็จสวรรคต หงสาวดีจึงได้มีพระราชสาสน์ส่งไปยังพระพิษณุโลกสองแควให้ส่งตัวแทนมาร่วมพระราชพิธีถวายเพลิงพระศพที่หงสาวดี พระนเรศวรได้เสนอตัวพระองค์เองแม้จะทรงรู้ว่า จะเป็นการคืนกลับไปอยู่ยังมือศัตรูอีกครั้ง
ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เดอะซีรีส์ (2560/2017) พุทธศักราช ๒๑๐๖ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ทรงกรีฑาทัพเข้าตีราชอาณาจักรอยุธยา โดยได้เข้ายึดครองหัวเมืองฝ่ายเหนืออันมี “เมืองพิษณุโลก” เป็นราชธานี ได้เป็นผลสำเร็จ ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” (เจ้าแผ่นดินครองเมืองพิษณุโลก - พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวร หรือ พระองค์ดำ) จำต้องยอมอ่อนน้อมต่อพระเจ้าบุเรงนอง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตอาณาประชาราษฎร์มิให้ต้องมีภัยอันตราย และจำต้องยอมร่วมกระบวนทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา ศึกครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ” เจ้าแผ่นดินอยุธยา ทรงยอมเจรจาหย่าศึกกับพม่ารามัญ และ ถวายช้างเผือก ๔ เชือก ทั้งให้ “สมเด็จพระราเมศวร” (ราชโอรส) เสด็จไปประทับยังนครหงสาวดีตามพระประสงค์ของกษัตริย์พม่า ข้าง “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ก็จำต้องถวายตัว “สมเด็จพระนเรศวร” ราชโอรสองค์โต ซึ่งมีพระชนมายุได้เพียง ๙ ชันษา ไปเป็นองค์ประกัน ประทับยังหงสาประเทศเช่นกัน ด้วยพระปรีชาสามารถด้านพิชัยยุทธ ทั้งยังองอาจกล้าหาญ “สมเด็จพระนเรศวร” จึงทรงเป็นที่รักใคร่ของ “พระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง” ประดุจพระราชบุตรร่วมสายสันตติวงศ์ แลทรงมีสายพระเนตรยาวไกล เห็นว่าสืบไปเบื้องหน้า “สมเด็จพระนเรศวร” จะได้ขึ้นเป็นใหญ่ในอุษาคเนย์ประเทศ จึงทรงปลูกฝังให้สมเด็จพระนเรศวรผูกพระทัยรักแผ่นดินหงสา เพื่อจะได้อาศัยเป็นผู้สืบอำนาจอุปถัมภ์ค้ำชูราชอาณาจักรซึ่งพระองค์ทรงสถาปนาขึ้นด้วยความยากลำบาก แลหาได้วางพระทัยในพระราชโอรส “พระเจ้านันทบุเรง” และพระราชนัดดา “มังกยอชวา” ด้วยทรงเล็งเห็นว่าราชนิกุลทั้งสองพระองค์นั้น หาได้เป็นผู้ทรงคุณธรรม เหตุนี้จึงเป็นชนวนให้ “พระเจ้านันทบุเรง” และ “ราชโอรสมังกยอชวา” ขัดพระทัยทั้งผูกจิตริษยา “สมเด็จพระนเรศวร” ตลอดมา
เรื่องย่อ : ตากสินมหาราช (2550/2007) พุทธศักราช 2308 พระเจ้ากรุงอังวะ โปรดเกล้าฯ ให้ “เนเมียวสีหบดี” (สมบัติ เมทะนี) และ “มังมหานรธา” (สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์) ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดย เนเมียวสีหบดี ยกทัพมาทางเหนือ ส่วน มังมหานรธา ยกทัพมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยากองทัพทั้งสองจะเข้าตีพร้อมกัน เพลานั้น “พระยาตาก” (ฉัตรชัย เปล่งพานิช) นามเดิมว่า “สิน” ได้เป็นเจ้าเมืองตาก นำทหารคู่ใจอันประกอบด้วย “ทองดี” (นภัสกร มิตรเอม), “สิงห์” (ทองขาว ภัทรโชคชัย), “ก้อน” (ศานติ สันติเวชชกุล), “ยอด” (บิณฑ์ บรรลือฤทธิ์), “เมฆ” (แจ็ค ไอเฟล), “บุญเกิด” (ถั่วแระ เชิญยิ้ม) และไพร่พลนำทัพออกตีต้านมิให้ทัพของ เนเมียวสีหบดี ผ่านไปยังกรุงศรีอยุธยาได้ แต่มิอาจต้านทัพอันมีกำลังไพร่พลมหาศาลได้ พระยาตาก จึงตัดสินใจผ่อนครัวลงมายังกรุงศรีอยุธยา เพื่อร่วมกับขุนทหารอื่นๆ รักษากรุงศรีอยุธยามิให้ตกเป็นเมืองขึ้นแก่ศัตรู เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา พระยาตาก กลับขัดแย้งกับ “ออกญากลาโหม” (มีศักดิ์ นาครัตน์) และขุนนางบางส่วนที่ยังเชื่อว่าน้ำเหนือจะทำให้ทัพอังวะพ่ายแพ้และยกทัพกลับไปเอง พระยาตาก นำขุนทหารคู่ใจออกปล้นค่าย เป็นที่คร้ามเกรงแก่ทัพอังวะเป็นอย่างยิ่ง เมื่อน้ำเหนือมาถึงทัพอังวะก็เร่งต่อเรือเพื่อนำทัพโจมตีกรุงศรีอยุธยา ทำหอรบ ใช้วัดเป็นค่ายทัพ ยิงปืนใหญ่จากค่ายต่างๆ เข้าใส่กรุงศรีอยุธยา ต่อมา พระยาตาก ได้รับคำสั่งให้นำทัพออกสู้รบกับกองทัพอังวะที่สมรภูมิวัดป่าแก้ว แต่มิอาจสู้ได้จึงนำทหารของตนไปตั้งค่ายที่วัดพิชัย กองทัพอังวะล้อมค่ายวัดพิชัยอย่างแน่นหนา พระยาตาก ตรองแล้วเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงตกเป็นของอังวะแน่ จึงนำทหารคู่ใจพร้อมไพร่พลจำนวน 500 นายตีฝ่าวงล้อมของทหารอังวะ หนีไปทางเมืองจันทบูรเพื่อรวบรวมไพร่พลแล้วกลับมากอบกู้กรุงศรีอยุธยาอีกครั้ง ในครั้งนี้พระองค์ได้พบสหายเก่าคือ “ทองด้วง” (สรพงษ์ ชาตรี) และ “บุญมา” (ธนา สินประสาธน์) น้องชาย ทั้งสองได้เข้าร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพระองค์ ตลอดการเดินทางไปสู่จันทบูรเจ้าเมืองต่างๆ พากันอ่อนน้อมและยอมเป็นพวก พระยาตาก สถาปนาตนเป็นกษัตริย์เพื่อเรียกขวัญและกำลังใจจากไพร่พลและราษฎรทั้งหลาย และเพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับให้พระองค์เป็นผู้นำ ครั้นถึงเมืองจันทบูรจึงทราบว่า “พระยาจันทบูร” (สถาพร นาควิลัย) ยอมเข้าเป็นพวกกับอังวะแล้ว พระองค์จึงใช้กุศโลบายทุบหม้อข้าวหม้อแกง ปลุกระดมพลังขุนทหารให้พร้อมกันเข้าตีจันทบูรได้สำเร็จ แล้วใช้จันทบูรเป็นที่บัญชาการศึกทรงเร่งต่อเรือเพื่อนำทัพเรือเข้าตีกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าตาก ทรงนำทหารเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นของอังวะได้สำเร็จจับ “สุกี้พระนายกอง” (สมเจตน์ สะอาด) นายค่ายสำเร็จโทษ หลังจากนั้นทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าจะบูรณะ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งราชธานีใหม่ที่ กรุงธนบุรี ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ขับไล่อังวะออกพ้นแผ่นดิน แต่ยังมีคนไทยกลุ่มต่างๆ ที่ยังไม่ยอมรับพระราชอำนาจของพระองค์ รวมตัวกันเป็นชุมนุมต่างๆ 5 ชุมนุม พระองค์พร้อมขุนทหาร ทองด้วง และบุญมา ได้ร่วมกันต่อตีชุมนุมต่างๆ จนสำเร็จราบคาบ บ้านเมืองจึงกลับเข้าสู่ความสงบสุขอีกครั้ง ตากสินมหาราช เป็นละครที่เสนอให้เห็นถึงความรักชาติ และยอมสลีพเพื่อชาติ ชี้ให้เห็นถึงความสามัคคีเท่านั้นที่จะทำให้ชาติคงอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี และเป็นละครเทิดพระเกียรติในพระวีรภาพแห่งความกล้าหาญของพระเจ้าตากสิน ผู้ได้รับสมัญญาว่าเป็น มหาราช ในกาลต่อมา ติดตามต่อได้ใน ตากสินมหาราช